วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

กว่าจะเป็น "เภสัชฯ"

เภสัชกร (อังกฤษpharmacist) คือผู้ที่มีวิชาชีพทางด้านสาธารณสุข (health profession) มีหน้าที่จ่ายยา ให้ผู้ป่วย และเป็นผู้ผลิตยา เภสัชกรจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถหลายสาขาโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการแพทย์ไม่ว่าจะเป็นทางด้านคลินิก โรงพยาบาล และเภสัชชุมชนซึ่งจะต้องเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ทางเลือกหนึ่งของวิชาชีพเภสัชกรคือการปฏิบัติงานในร้านขายยาซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าของร้านเอง (small business) ในงานด้านนี้เภสัชกรนอกจากจะมีความชำนาญในธุรกิจร้านค้าแล้วยังมีความรู้และข้อมูลการใช้ยาทั้งประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของยา ตลอดจนการให้ข้อมูลความรู้ให้คำปรึกษาการใช้ยาแก่ชุมชนด้วย เภสัชกรบางครั้งเรียกว่านักเคมี เพราะในอดีตมีการให้ผู้สำเร็จการศึกษาในวิชาเคมีสาขาเภสัชกรรม (Pharmaceutical Chemistry (PhC)) มาเป็นเภสัชกรซึ่งเรียกกันว่านักเคมีเภสัชกรรม ("Pharmaceutical Chemists") โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษเช่น เครือข่ายร้านขายยาของบู๊ตส์เรียกเภสัชกรของบู๊ตส์ว่า "นักเคมีบูตส์" ('Boots The Chemist')


คุณสมบัติของเภสัชกร


  1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปในสาขาเภสัชศาสตร์
  2. มีสุขภาพกายและจิตดี ไม่พิการ ไม่ตาบอดสี มีมนุษย์สัมพันธ์ มีความเป็นผู้นำเพราะอาจทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยเฉพาะในงานการผลิต มีบุคลิกภาพดี
  3. รักในอาชีพ มีความรับผิดชอบสูง
  4. มีความสนใจในวิชาวิทยาศาสคร์ เคมีชีววิทยา และสอบได้คะแนนดีในวิชาเหล่านี้
  5. ชอบค้นคว้า ทดลอง ใช้ปัญญาในการวิเคราะห์
  6. ละเอียด รอบคอบ ช่างสังเกต
  7. มีความซื่อสัตย์
  8. ชอบการท่องจำ เพราะต้องจำชนิด ส่วนประกอบของยา ชื่อยาและชื่อสารเคมีในการรักษาโรค ชื่อและประโยชน์ของต้นไม้ที่มียา
ความต้องการขั้นพื้นฐานสำหรับการจดทะเบียน (registration) เป็นเภสัชกรรับอนุญาตจะต้องเป็น ผู้ที่เรียนจบจากคณะเภสัชศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ซึ่งจะได้รับปริญญาดังนี้
ระยะเวลาที่ใช้ในการสำเร็จการศึกษาจแตกต่างในแต่ละประเทศดังนี้
  1. ประเทศไทยใช้เวลา 5 ปี ได้ ภบ (BPharm) หรือเรียน 6 ปี ได้ ภบบ (PharmD)
  2. สหภาพยุโรป (European Union) รวมถึงสหราชอาณาจักร เดิมเรียน 4 ปีได้ ภบ (BPharm) ปัจจุบันถูกแทนที่ด้วยเรียน 4 ปี ได้ ภม (MPharm) เลย
  3. ประเทศออสเตรเลียใช้เวลา 4 ปี ได้ ภบ (BPharm) ต่ออีก 2 ปีได้ ภม (MPharm)
  4. สหรัฐอเมริกาใช้เวลา 4 ปี ได้ ภบ (BPharm) ต่ออีก 2 ปีได้ ภบบ (PharmD) มีฐานะเทียบเท่า พบ (medical doctor (MD)

หลักสูตรการเรียนเภสัชศาสตร์

หลักสูตรมาตรฐานที่ใช้เรียนในคณะเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มีดังนี้
  1. เภสัชภัณฑ์ (Pharmaceutics)
  2. เภสัชเคมี (Pharmaceutical chemistry หรือ Medicinal chemistry)
  3. เภสัชวิเคราะห์ (Pharmaceutical analysis)
  4. เภสัชวิทยา (Pharmacology)
  5. พิษวิทยา (Toxicology)
  6. จุลชีววิทยา (Microbiology)
  7. เคมี (Chemistry)
  8. ชีวเคมี (Biochemistry)
  9. เภสัชพฤกษศาสตร์ (Pharmaceutical Botany)
  10. เภสัชวินิจฉัย (Pharmacognosy)
  11. เภสัชอุตสาหกรรม (Industrial Pharmacy)
  12. สรีรวิทยา (Physiology)
  13. กายวิภาคศาสตร์ (Anatomy)
  14. อาหารเคมี (Foods Science)
  15. เภสัชกรรม (Pharmacy)
  16. กฎหมายยา (Pharmacy law)
  17. เภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetics)
  18. เภสัชพลศาสตร์ (Pharmacodynamics)
  19. ปฏิบัติการเภสัชกรรม (Pharmacy practice) ประกอบด้วย ปฏิกิริยาระหว่างยา, การติดตามผลการใช้ยา (medicine monitoring) การบริหารการใช้ยา (medication management)
  20. บริบาลเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)บูรณาการด้านการใช้ยากับผู้ป่วย และดูแลติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด

การจดทะเบียนเป็นเภสัชกร

เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ยาแก่ประชาชนทั่วไป ประเทศต่าง ๆ จึงได้กำหนดบุคคลที่จะมาเป็นเภสัชกรจะต้องถูกฝึกอบรมมาอย่างถูกต้องและพอเพียงโดยการจดทะเบียน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจดทะเบียนจะต้องมีคุณสมบัติและผ่านการสอบ ดังนี้
  1. ประเทศไทย ผู้ที่ผ่านการศึกษาเภสัชศาสตร์ และต้องการจะได้รับการจดทะเบียนเป็นเภสัชกร ต้องผ่านการสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม จากสภาเภสัชกรรม ก่อน
  2. ประเทศอังกฤษ ผู้ที่ผ่านการศึกษาเภสัชศาสตร์และต้องการจะได้รับการจดทะเบียนเป็นเภสัชกร จะต้องฝึกงานทางด้านเภสัชกรรมอย่างน้อย 1 ปี ก่อนสอบรับใบอนุญาตจากสมาคมเภสัชกรรมอังกฤษ (Royal Pharmaceutical Society of Great Britain)
  3. สหรัฐอเมริกา ผู้ที่ผ่านการศึกษาเภสัชศาสตร์และต้องการจะได้รับการจดทะเบียนเป็นเภสัชกร จะต้องการสอบ 2 ด่าน ดังนี้

หน้าที่ของเภสัชกร

ส่วนมากเภสัชกรจะพบกับผู้ป่วยในจุดแรกด้วยการสอบถามปัญหาเกี่ยวกับสาธารณสุขพื้นฐานโดยเฉพาะเกี่ยวกับยา การใช้ยา ผลข้างเคียงของยา ฯลฯ ดังนั้นหน้าที่ของเภสัชกรจึงคอนข้างกว้างซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
  1. บริหารงานเกี่ยวกับการใช้ยาในทางคลินิก (clinical medication management)
  2. การเฝ้าติดตามสถานการณ์ของโรคเฉพาะ (specialized monitoring) ที่เกี่ยวกับยาและผลของยาทั้งโรคธรรมดาและซับซ้อน
  3. ทบทวนการใช้ยาอย่างละเอียดถี่ถ้วน (reviewing medication regimens)
  4. ติดตามการรักษาโรคอย่างต่อเนื่อง (monitoring of treatment regimens)
  5. ติดตามดูแลสุขภาพอนามัยทั่วไปของผู้ป่วย (general health monitoring)
  6. ปรุงยา (compounding medicines) 
  7. ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยทั่วไป (general health advice)
  8. ให้การศึกษาแก่ผู้ป่วยเป็นการเฉพาะ (specific education) เกี่ยวกับสถานการณ์ของโรคและการรักษาด้วยยา
  9. ตรวจสอบเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจ่ายยา (dispensing medicines)
  10. ดูแลจัดเตรียม(provision)ยาที่ไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์(non-prescription medicines)
  11. ให้คำปรึกษาและแนะนำผู้ป่วยถึงการใช้ยาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด(optimal use of medicines)
  12. แนะนำและรักษาโรคพื้นๆทั่วไป(common ailments)
  13. ส่งต่อผู้ป่วยไปยังวิชาชีพสาธารณสุขอื่นที่ตรงกับโรคของผู้ป่วยมากกว่าถ้าจำเป็น
  14. จัดเตรียมปริมาณยา (dosing drugs) ในผู้ป่วยตับและไตล้มเหลว
  15. ประเมินผลการเคลื่อนไหวของยาในผู้ป่วย (pharmacokinetic evaluation)
  16. ให้การศึกษาแก่แพทย์ (education of physicians) เกี่ยวกับการใช้ยาอย่างถูกต้อง
  17. ร่วมกับวิชาชีพทางด้ายสาธารณสุขอื่นในการสั่งยา (prescribing medications) ให้คนไข้ในบางกรณี
  18. ดูแล จัดเตรียม จัดหา และรักษาเภสัชภัณฑ์ให้อยู่สภาพพร้อมใช้งาน (pharmaceutical care)

สาขาวิชาชีพเภสัชกรรม

สาขาวิชาชีพเภสัชกรรมพอจำแนกได้ดังนี้:

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Pharmaceutical Sciences KKU.png
ชื่ออังกฤษFaculty of Pharmaceutical Sciences,
Khon Kaen University
ที่อยู่123 ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง
อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40002
วันก่อตั้ง12 ธันวาคม พ.ศ. 2523[1]
วารสารวารสารเภสัชศาสตร์อีสาน
สีประจำคณะ     สีเขียวมะกอก
สัญลักษณ์โกร่งบดยาเรซิพี (℞)
สถานปฏิบัติการสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน
เว็บไซต์pharm.kku.ac.th
    
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (อังกฤษFaculty of Pharmaceutical Sciences, Khon Kaen University) เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่นกระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520 - 2524) ตามโครงการพัฒนาสาธารณสุขของประเทศ โดยเป็นคณะวิชาที่จัดตั้งขึ้นเป็นอันดับที่ 11 ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น นับเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ผลิตบัณฑิตสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ แห่งที่ 5 ของประเทศ ถัดจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รหัสหน่วยงานในระบบทะเบียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น : 15


















จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รูปภาพจาก




วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

(Head Care Robot)




พานาโซนิคเผยเทคโนโลยีสุดไฮเทค ที่จะพลิกโฉมให้กับร้านทำผมด้วยหุ่นยนต์สระผมอัตโนมัติ (Head Care Robot) ที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยสนับสนุนและประหยัดค่าใช้จ่ายที่ต้องจ้างช่างสระผม เพียงแค่มีหุ่นยนต์สระผมอัตโนมัติตัวนี้หนึ่งเครื่อง การสระผมก็เป็นเรื่องง่ายดาย

สำหรับหุ่นยนต์สระผมอัตโนมัติ (Head Care Robot) เป็นหนึ่งผลิตภัณฑ์ ที่โชว์ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีของทางพานาโซนิค ซึ่งเจ้าหุ่นยนต์สระผมตัวนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้แค่เฉพาะในร้านเสริมสวยเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้ประโยชน์ให้กับผู้ป่วยในโรงพยาบาลในกรณีที่พนักงานไม่เพียงพอ กลไกการทำงานของหุ่นยนต์สระผมอัตโนมัติจะถูกควบคุมด้วยตัววัดเซ็นเซอร์ศีรษะของลูกค้า จากนั้นจะเริ่มขั้นตอนการสระผม โดยการฉีดน้ำ สามารถเลือกได้น้ำร้อนหรือน้ำเย็น เสร็จแล้วก็ฉีดแชมพูเป็นขั้นตอนต่อไป โดยจะมีชิ้นส่วนคล้ายนิ้วมือ จำนวน 24 นิ้วเป็นตัวช่วยเพื่อนวดแชมพูให้ทั่วศีรษะของเรา 

ซึ่งในขณะนี้ทางพานาโซนิคได้เริ่มทดสอบหุ่นยนต์สระผมอัตโนมัตินี้แล้ว ที่ร้านทำผมชื่อว่า Super Hair Seo ในเมือง Nishiyama จังหวัดเฮียวโก ประเทศญี่ปุ่น โดยเริ่มทดสอบตั้งแต่วันที่ 11 เมษายนถึงวันที่ 10 มิถุนายน 2555 ทำให้มีผู้คนสนใจเข้าใช้บริการหุ่นยนต์สระผมอัตโนมัตินี่ที่ร้านเป็นจำนวนมาก

ที่มา kapook.com
เขียนโดย grittapol prapan 

เทคโนโลยีล้ำสมัย! "แว่นตา" มี Auto Focus




บริษัท PixelOptics ได้คิดค้นแว่นตาไฮเทค ที่เพิ่มชั้นของคริสตัลเหลวไปบนตัวเลนส์ เพียงแค่เงยหน้าหรือสัมผัสที่แว่นมันก็จะปรับโฟกัสให้โดยอัตโนมัติในช่วงเวลาที่เร็วกว่าการกะพริบตาซะอีก

EmPower! ช่วยปรับโฟกัสได้ทุกระยะการมอง ไม่ว่าจะใกล้ไกลหรือระยะกลาง ๆ ลดการบิดเบียนภาวะตาพร่าที่ทำให้เห็นวัตถุผิดรูปไปได้ถึง 50% และเพิ่มมุมมองให้กว้างขึ้น 2 – 3 เท่าเมื่อเทียบกับโปรเกรสซีฟเลนส์ ภายใต้รูปลักษณ์ที่เหมือนแว่นตาทั่ว ๆ ไป ข้างในได้ซ่อนไมโครชิฟ , micro-accelerometer และแบตเตอรี่ชาร์จได้ขนาดเล็กซ่อนเอาไว้


เจ้า accelerometer จะทำหน้าที่จับการเคลื่อนไหวแล้วส่งสัญญาณไปยังชั้น LCD โปร่งใสบนเลนส์แต่ละข้าง ที่สามารถเปลี่ยนโครงสร้างโมเลกุลของตัวมันเองได้ เมื่อรวมกับการการคำนวณค่าการหักเหของแสงที่เปลี่ยนไปจึงทำให้มันปรับโฟกัสตามต้องการ ซึ่งคุณสามารถตั้งได้ว่าจะใช้โหมดอัตโนมัติหรือ Manual เพียงแค่กดปุ่มเปิด/ปิด

ในการชาร์จหนึ่งครั้งสามารถใช้งานได้ 2-3 วัน นอกจากนี้ EmPower! ยังมีคุณสมบัติกันน้ำ มีกรอบให้เลือกมากมายถึง 48 แบบ ตั้งแต่กรอบโลหะ กรอบพลาสติกจนไปถึงไร้ขอบ ในส่วนของเลนส์ผลิตขึ้นโดย Panasonic Healthcare Company แถมยังมีออปชันเปลี่ยนเลนส์ให้กลายเป็นแว่นกันแดดได้ด้วย

สนนราคาของ Empower! อยู่ที่ 1,000-1,200 $ ราคานี้รวมแท่นชาร์จแล้ว

ที่มาthaiza.com
เขียนโดย grittapol prapan